โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ปัญหาที่พบได้แม้อายุน้อย

ปัจจุบัน โรคหัวใจยังเป็นโรคอันดับต้น ๆ ที่ยังเป็นความเสี่ยงแก่หลาย ๆ คนทั่วโลก และมีอัตราการเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องจากโรคนี้ ซึ่งโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ได้พบเฉพาะในผู้สูงวัย แต่สามารถพบได้ในช่วงอายุ 30-35 ปีได้เช่นกัน

ทั้งนี้ พบว่าในปัจจุบัน หลาย ๆ คนนั่งทำงานอยู่กับที่มากขึ้น ไม่ค่อยลุกไปไหน มีการเคลื่อนไหวของร่างกายและออกแรงน้อยลง ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ หรือไขมันในเลือดสูง ล้วนส่งผลให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อหาแนวทางป้องกัน หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลดโอกาสเกิดโรค  และรีบไปรักษาได้ทันเมื่อมีสัญญาณอันตรายเกิดขึ้น

สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

  1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย  อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรง และดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมาก และบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
  2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 6 ชั่วโมง

(ขอบคุณที่มา https://bangpo-hospital.com/coronaryarterydisease/)

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันตั้งแต่อายุน้อย ได้แก่

  1. บุคคลที่สูบบุหรี่
  2. การออกกำลังกายที่หนักเกินไป หรือ นักกีฬา จะมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ

บทความจากโรงพยาบาลศิริราช ระบุเกี่ยวกับสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ ไว้ดังนี้

  • มีอาการเจ็บหน้าอก เช่น บีบเค้นหน้าอกเหมือนมีของหนักกดทับ เจ็บหน้าอกร้าวไปกราม ขากรรไกร คอ แขน ไหล่ หลัง เจ็บหน้าอกร่วมกับเหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น เจ็บหน้าอกนานกว่า 20 นาที
  • นอกจากนี้ยังมีอาการเหนื่อยง่าย ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง มีภาวะหัวใจล้มเหลว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเป็นลมหมดสติ

 

 

 

(ขอบคุณภาพจาก Pixabay)

Share